17/11/2554
ผมนั้งมองความวุ่นวาย
ความสับสนที่เกิดขึ้นในเมืองใหญ่ อาชญากรรม มลพิษ รถติด น้ำท่วม
แม้ว่าเมืองใหญ่ๆ
จะมีความเจริญมากมาย แต่ก็ดูเหมือนว่าจะเจริญแต่เพียงวัตถุ เพราะสิ่งต่างๆ
ในเมืองล้วนถูกปรุงแต่ง ผู้คนต่างพากันหลงใหล ในแสง สี เสียง
ความสงบในจิตใจเริ่มหดหายลงไป
ผมเป็นคนหนึ่งที่เข้ามาอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร
แล้วพบว่า ตัวเองได้หลุดเข้าไปในวังวนแห่ง ความวุ่นวาย ความสับสนเหล่านั้น
วันนี้ผมจะเดินทางกลับไปสู่ธรรมชาติ ที่ไร้ ซึ่งปรุงแต่ง อีกครั้ง
หลังจากที่ผมรู้สึกว่า
ในเมืองใหญ่ มีแต่ความวุ่นวาย รู้สึกว่าความสงบในใจของตนเริ่มมีน้อยลง
ผมจึงตัดสินใจเดินทางกลับไปสู่ธรรมชาติ ผมเลือกที่จะเดินทางไปยังจุดสูงสุดของประเทศไทย
นั่นคือดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ครับ
เพราะผมเชื่อว่าอากาศและธรรมชาติที่นั่นยังคงสวยงามอยู่
เมื่อถึงที่เชียงใหม่แล้ว
ผมไม่รีรอครับ รีบบึ่งขึ้นไปเยื่อนธรรมชาติทันที จุดแรกที่ผมไปคือดอยม่อนแจ่ม
คนในพื้นที่บอกกับผมว่าดอยแห่งนี้พึ่งจะเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยว
แต่ก่อนเป็นเพียงศูนย์พัฒนาโครงการหลวง ใช้เป็นพื้นที่เกษตรกรรมของชาวม้ง
ปลูกองุ่น ปลูกสตอเบอร์รี่ส่งขายเท่านั้น
แต่เมื่อจังหวัดเชียงใหม่เริ่มขยายตัวด้วยธุรกิจการท่องเที่ยวทำให้ ดอยแห่งนี้
จากที่เป็นแต่เพียงพื้นที่เกษตรกรรม
ตอนนี้ถูกผสมผสานด้วยการเป็นแหล่งท่องเที่ยงไปด้วย
แม้ว่าจะสร้างรายได้ให้ชาวม้งในพื้นที่ด้วยการเป็นแหล่งท่องเที่ยว
แต่ชาวชุมชนที่นี่ยังคงเป็นห่วงว่า ถ้ามีนักท่องเที่ยวขึ้นมาเยี่ยมชมเป็นจำนวนมาก
อาจจะทำลายธรรมชาติที่เคยเป็นอยู่
วันรุ่งขึ้น
ผมออกเดินทางขึ้นสู่ดอยอินทนนท์
อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์
เป็นพื้นที่ที่มีคุณค่าสำคัญในการเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญของลำน้ำปิง
ดังนั้นตลอดทางขึ้นดอย จึงไม่ยากครับที่จะพบน้ำตก ซึ่งมีหลายแห่ง “ผมเลือกชมน้ำตกวชิรธารครับ”
น้ำตกวชิรธาร
เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ เดิมชื่อ ตาดฆ้องโยง ภายหลัง
ได้เปลี่ยนชื่อตามพระนามาภิไธยของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร
ตัวน้ำตกอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 750 เมตร ตรงข้ามมีหน้าผาสูงชัน เรียกว่า
ผาม่อนแก้วครับ เดินทางขึ้นไปอีกไม่นาน ช่วงนี้เริ่มรู้สึกได้แล้วครับว่าหูอื้อ
และอากาศเริ่มเย็นลง
ผมเดินทางขึ้นมาดูวิถีชีวิตของชาวกระเหรี่ยงที่อาศัยอยู่บนดอยอินทนนท์
การเลี้ยงสัตว์อย่างวัวควาย เป็นการเลี้ยงแบบปล่อย
ไม่ต้องมีล่ามผูกเอาไว้อย่างที่เห็นกันโดยทั่วไป แม้จะเลี้ยงแบบปล่อย
แต่ดูเหมือนว่าควายฝูงนี้จะเชื่อง และเป็นระเบียบมากเลยครับ
เดินเกาะกลุ่มกันเป็นแถว ดูเป็นธรรมชาติที่ไม่ต้องเบียดเบียนกัน
ภาพเหล่านี้คงพบเห็นได้ บนดอยเท่านั้นครับ
ชาวกระเหรี่ยงที่นี่
มีชีวิตอยู่อย่างพอเพียง ปลูกข้าวแบบขั้นบันได ไม่ได้ปลูกไว้ขาย แต่ปลูกไว้กินเอง
ปีหนึ่งทำนาเพียงครั้งเดียวโดยใช้น้ำที่ไหลลงมาจากภูเขา
และปลูกสตอเบอรี่เพื่อขายสร้างรายได้ให้ชุมชนครับ
บ่ายนี้ผมจะมาเดินป่าอันเงียบสงบ
ที่กิ่วแม่ปาน อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์
เส้นทางต่อจากนี้ลาดชั้นและคดเคี้ยวมากขึ้น
ตลอดทางมีเมฆหมอกหนาแน่ อากาศหนาวเย็น ขึ้นเรื่อยๆ ครับ
สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ
2000 เมตร ถึงเส้นทางศึกษาธรรมชาติกิ่วแม่ปาน ผมไม่รอช้ารีบเดินเข้าป่า
พร้อมกับมาลี แซ่ยะ ชาวม้งผู้นำทางชมธรรมชาติครั้งนี้
ผมโชคดีครับที่ขึ้นมาเยือนดอยอินทนนท์ในช่วงที่ยังไม่มีนักท่องเที่ยวมากนัก
ทำให้มีโอกาสเดินป่าอย่างสงบจริงๆครับ
เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติกิ่วแม่ปาน
มีระยะทางทางประมาณ 3 กิโลเมตร ตลอดเส้นทางเดินที่ผ่านแบ่งออกได้เป็น 4 ระยะครับ
ช่วงแรกเป็นป่าดิบชื้น
ตอนนี้ผมกำลังเดินอยู่ในป่าที่ถูกปกคลุมด้วยหมอกขาวและอากาศที่หนาวเย็น ผมเห็นมอส
และเฟิร์นขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นตามลำต้นของไม้ใหญ่ที่แข่งขันกันเติบโตเพื่อรับแสงอาทิตย์
หลังจากผ่านดงทึบของป่าดิบเขา
ก็เข้าสู่ช่วงของทุ่งหญ้าขนาดใหญ่ ที่เรียกว่าทุ่งหญ้ากึ่งอัลไพน์
ลักษณะของพื้นที่เป็นที่โล่ง ดินค่อนข้างตื้นและมีหินโผล่
เมื่อผมออกเดินทางต่อ
จะพบกับต้นกุหลาบพันปี ขึ้นอยู่ตามหน้าผาเป็นดงกว้างจำนวนมากและมีขนาดใหญ่
ช่วงที่ผมไปเป็นช่วงเดือนพฤศจิกายนจึงยังไม่เห็นดอกกุหลาบพันปีผลิบานมากนัก
แต่ช่วงที่จะผลิบานคือช่วงเดือนมกราคม ถึง มีนาคม
พันธุ์ไม้ชนิดนี้ถือเป็นลักษณะเด่นของเส้นทางศึกษาธรรมชาติกิ่วแม่ปาน
หินสองแท่งที่ตั้งคู่กันอยู่บนไหล่เขา
ชาวบ้านเรียกว่าแง่มน้อย
แง่มเป็นภาษาท้องถิ่นของทางภาคเหนือมีความหมายเช่นเดียวกับคำว่าง่าม
หินสองแท่งนี้เป็นหินที่เกิดจากหินหลอมเหลวใต้ผิวโลกที่ดันตัวขึ้นมา
และผิวโลกมีการยกตัว จนเห็นเป็นหินแท่ง เช่นนี้แหละครับ
สุดปลายทางที่ทุ่งหญ้าผมเห็นดอกไม้สีขาวเป็นตุ่มๆ
ชื่อว่าหนาดเขาสีขาว และดอกไม้ป่าสีเหลือง สีม่วง สีขาว อีกหลายชนิด
ที่สามารถพบเห็นได้บนเส้นทางเดินป่าแห่งนี้ครับ
ผมเดินวกกลับเข้าสู่ป่าดิบเขาอีกครั้งหนึ่ง
เป็นการเดินช่วงสุดท้าย จะต้องเดินลงสู่ลำห้วยแม่ปาน
ซึ่งถือได้ว่าเป็นต้นน้ำที่สำคัญ ที่ไหลไปรวมกับลำห้วยอื่นๆจนเกิดเป็นน้ำตก
จุดไฮไลท์ของการเดินป่าที่กิ่วแม่ปาน
มีอยู่จุดหนึ่งครับที่ ให้เราได้นั้งพักกาย พักใจ ฟังเสียงธรรมชาติของป่าไม้
เขาว่ากันว่า ถ้าตั้งใจฟังดีดี
จะเสมือนหนึ่งว่าเรากำลังฟังวงดนตรีวงใหญ่บรรเลงเพลงให้เราฟังอย่างไพเราะ
แต่การที่ผมได้หยุดอยู่นิ่งๆ
นั้งลง เพื่อฟังเสียงของใบไม้ เสียงลม เสียงนก เสียงจิ้งหรีด
ประสานเสียงร้องพร้อมๆกัน ผมรู้สึกสงบ สบายใจ ความเงียบ
และเสียงของป่าที่นี่กำลังบอกเราให้กลับมาสู่บ้านที่แท้จริง ในจิตใจ
ทำให้ผมนึกถึงคำสอนของหลวงปู่ติช นัท ฮันห์ พระเซนชาวเวียดนาม แห่งหมู่บ้านพลัม
ประเทศฝรังเศษ และหลวงปู่พุทธาส ภิกขุ แห่งสวนโมกไชยา จ.สุราษฎ์ธานี
ที่พยามสอนให้เรามีสติ และระลึกรู้อยู่กับปัจจุบันตลอดเวลา
การเดินทางสู่จุดสูงสุดของประเทศไทย
ก็มาถึงปลายทาง ผมได้มาพบกับความสงบของป่าไม้บนจุดสูงสุดของประเทศไทย
ป่าใหญ่แห่งนี้เป็นบ้านของสิ่งมีชีวิตนานาพันธุ์ ทั้งพืชและสัตว์
ทุกตารางนิ้วของผืนป่ามีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ทั้งสิ้น
ถ้าลองสังเกตจากพื้นดินจนถึงบนยอดไม้ จะนับสิ่งมีชีวิตได้กี่ชนิด
และพบว่าชีวิตคือการพึ่งพิงอาศัย ทั้งมอส เฟิน และเห็ด
ต่างขึ้นอยู่บนขอนไม้ท่อนเดียวกัน
การเดินทางศึกษาธรรมชาติมีจุด มุ่งหมายให้ได้เรียนรู้ ได้เข้าใจ
กลับมาอยู่กลับปัจจุบัน ทุกย่านก้าวที่เดินบนผื่นป่าเต็มไปด้วยสติ
ผมซาบซึ้งกับธรรมชาติ
เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างสรรพสิ่งรอบตัวของเราที่เชื่อมโยงกันเป็นดั่งกันและกัน ครับ....
ฝ่ายข่าว Nation U Channel :: ธัญพิสิษฐ์ เลิศบำรุงชัย